- ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท เป็นค่าลดหย่อนสำหรับคนมีเงินได้ทุกคนที่ยื่นภาษี
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท เป็นค่าลดหย่อนของคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้และเลือกยื่นแบบแสดงรายการรวมกันในการคำนวณภาษี ก็จะได้สิทธิค่าลดหย่อนเพิ่มเติมจากส่วนนี้
- ค่าลดหย่อนบุตร จำนวน 30,000 บาท หมายถึง บุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ในกรณีที่เป็นบุตรโดยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่ในกรณีที่เป็นบุตรบุญธรรม หรือมีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรชอบด้วยกฎหมาย จะหักได้สูงสุดไม่เกิน 3 คน (นับเฉพาะที่มีชีวิตอยู่)
- ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
- ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่เราและพ่อแม่คู่สมรส คนละ 30,000 บาท ถ้าหากเราหรือคู่สมรสมีคุณพ่อคุณแม่ที่อายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท ก็จะมีสิทธิหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูได้คนละ 30,000 บาท
- ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือคนทุพพลภาพ จำนวน 60,000 บาท ถ้าเราเป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือคนทุพพลภาพที่มีใบรับรองแพทย์ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่า คนพิการหรือคนทุพพลภาพที่นำมาลดหย่อนนั้น ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีด้วยค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิ
1.ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท
2.ค่าลดหย่อนเงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม จำนวน 100,000 บาท
3.ค่าลดหย่อนช้อปดีมีคืน จำนวน 30,000 บาท
ค่าลดหย่อนกลุ่มประกันและการลงทุน
- ประกันสังคม สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 6,300 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตทั่วไปตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 25,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 15,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 200,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท
- กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกินจำนวน 13,200 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) นำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกินจำนวน 200,000 บาท
ค่าลดหย่อนกลุ่มคุณรักพรรคการเมือง
โดยนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ค่าลดหย่อนกลุ่มเรื่องบริจาคตอบแทนสังคม แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
- กลุ่มบริจาคแล้วลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า สำหรับกลุ่มนี้จะประกอบด้วย เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา สถานพยาบาลรัฐ สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และช่วยเหลือสังคม รวมถึงการบริจาคให้กับสภากาชาดไทย
- กลุ่มบริจาคลดหย่อนภาษีตามปกติ สำหรับกลุ่มเงินบริจาคทั่วไป สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินที่เหลือหลังหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อน และเงินบริจาคในกลุ่มที่เป็น 2 เท่า โดยคำว่าเงินบริจาคทั่วไป จะเป็นเงินที่เราบริจาคให้แก่วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล สถานศึกษาต่างๆ รวมถึงมูลนิธิที่เป็นองค์กรสาธารณกุศล
บางส่วนจากบทความ : “สรุปรายการลดหย่อนภาษี ปี 2565”
โดย : TAXBugnoms / Section : Lifestyle / Column : Smart Money for Salaryman
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่…วารสาร HR Society Magazine ปีที่ 20 ฉบับที่ 240 เดือนธันวาคม 2565
หากสนใจจ้างทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนจัดตั้ง หรือบริการอื่นๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อเราได้ที่ : บริษัท เอชเคบี ออดิท จำกัด