ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์

สรุปรายการลดหย่อนภาษี ปี 2565 สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท เป็นค่าลดหย่อนสำหรับคนมีเงินได้ทุกคนที่ยื่นภาษี
  2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท เป็นค่าลดหย่อนของคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้และเลือกยื่นแบบแสดงรายการรวมกันในการคำนวณภาษี ก็จะได้สิทธิค่าลดหย่อนเพิ่มเติมจากส่วนนี้
  3. ค่าลดหย่อนบุตร จำนวน 30,000 บาท หมายถึง บุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ในกรณีที่เป็นบุตรโดยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่ในกรณีที่เป็นบุตรบุญธรรม หรือมีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรชอบด้วยกฎหมาย จะหักได้สูงสุดไม่เกิน 3 คน (นับเฉพาะที่มีชีวิตอยู่)
  4. ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
  5. ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่เราและพ่อแม่คู่สมรส คนละ 30,000 บาท ถ้าหากเราหรือคู่สมรสมีคุณพ่อคุณแม่ที่อายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท ก็จะมีสิทธิหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูได้คนละ 30,000 บาท
  6. ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือคนทุพพลภาพ จำนวน 60,000 บาท ถ้าเราเป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือคนทุพพลภาพที่มีใบรับรองแพทย์ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่า คนพิการหรือคนทุพพลภาพที่นำมาลดหย่อนนั้น ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีด้วยค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิ
    1.ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท
    2.ค่าลดหย่อนเงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม จำนวน 100,000 บาท
    3.ค่าลดหย่อนช้อปดีมีคืน จำนวน 30,000 บาท

ค่าลดหย่อนกลุ่มประกันและการลงทุน

  1. ประกันสังคม สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 6,300 บาท
  2. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไปตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท
  3. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 25,000 บาท
  4. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 15,000 บาท
  5. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 200,000 บาท
  6. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท
  7. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  8. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกินจำนวน 13,200 บาท
  9. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) นำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกินจำนวน 200,000 บาท

ค่าลดหย่อนกลุ่มคุณรักพรรคการเมือง

โดยนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ค่าลดหย่อนกลุ่มเรื่องบริจาคตอบแทนสังคม แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. กลุ่มบริจาคแล้วลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า สำหรับกลุ่มนี้จะประกอบด้วย เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา สถานพยาบาลรัฐ สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และช่วยเหลือสังคม รวมถึงการบริจาคให้กับสภากาชาดไทย
  2. กลุ่มบริจาคลดหย่อนภาษีตามปกติ สำหรับกลุ่มเงินบริจาคทั่วไป สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินที่เหลือหลังหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อน และเงินบริจาคในกลุ่มที่เป็น 2 เท่า โดยคำว่าเงินบริจาคทั่วไป จะเป็นเงินที่เราบริจาคให้แก่วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล สถานศึกษาต่างๆ รวมถึงมูลนิธิที่เป็นองค์กรสาธารณกุศล

บางส่วนจากบทความ : “สรุปรายการลดหย่อนภาษี ปี 2565”
โดย : TAXBugnoms / Section : Lifestyle / Column : Smart Money for Salaryman
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่…วารสาร HR Society Magazine ปีที่ 20 ฉบับที่ 240 เดือนธันวาคม 2565

หากสนใจจ้างทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนจัดตั้ง หรือบริการอื่นๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อเราได้ที่ : บริษัท เอชเคบี ออดิท จำกัด

line hkbaudit ติดต่อเรา