ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประกันสุขภาพผู้มีเงินได้

การยกเว้นเงินได้สำหรับเบี้ยประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ มีหลักเกณฑ์อย่างไร

การยกเว้นเงินได้สำหรับเบี้ยประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

  1. เบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
  2. หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท
  3. เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  4. เบี้ยประกันสุขภาพตนเองที่จ่ายไป ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2563
  5. ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อบริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้เอาประกันไว้ โดยบริษัทประกันฯ ต้องส่งข้อมูลของผู้เอาประกันด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 315)

ทำประกันสุขภาพเนื่องจาก COVID-19 นำมาหักลดหย่อนได้เท่าไหร่

บุคคลธรรมดาที่ได้จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพให้แก่บริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท โดยเมื่อรวมกับเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตและเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

กรมธรรม์เป็นชื่อบุตร สามารถนำมาหักลดหย่อนได้หรือไม่

การจ่ายเบี้ยประกันที่จะได้รับสิทธิ จะต้องเป็นการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิหักลดหย่อนเท่านั้น

หากผู้มีเงินได้ไม่ได้แจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อบริษัทประกัน แต่ได้มีการจ่ายเงินค่าประกันสุขภาพจริง จะยังคงใช้สิทธิได้หรือไม่

ผู้มีเงินได้ที่ไม่แจ้งความประสงค์การใช้สิทธิตามที่กฎหมายกำหนด หากต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวภายหลัง ต้องแจ้งความประสงค์ต่อบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้เอาประกันไว้ให้นำส่งข้อมูลเพิ่มเติม

หากสนใจจ้างทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนจัดตั้ง หรือบริการอื่นๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อเราได้ที่ : บริษัท เอชเคบี ออดิท จำกัด

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีหลักเกณฑ์อย่างไร

การหักลดหย่อนผู้มีเงินได้มีหลักเกณฑ์อย่างไร

การหักลดหย่อนผู้มีเงินได้ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

  1. ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนได้ 60,000 บาท
  2. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี หักลดหย่อนได้ 60,000 บาท
  3. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง หักลดหย่อนได้ 60,000 บาท
  4. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล หากอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป ให้หักลดหย่อนได้ 120,000 บาท
  5. วิสาหกิจชุมชนประกอบกิจการในรูปแบบห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หักค่าลดหย่อนได้ ไม่เกิน 60,000 บาท

กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ หักลดหย่อนอย่างไร

กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ หักลดหย่อนได้ดังนี้

  1. แยกยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91 ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนในส่วนของตนได้ 60,000 บาท
  2. ยื่นแบบรวมคำนวณภาษี หักลดหย่อนรวมกันได้ 120,000 บาท

กรณีภริยาไม่ได้ทำงาน แต่ได้รับเงินจากสามี เดือนละ 20,000 บาท และภริยาไปลงทะเบียนใช้สิทธิคนละครึ่งสามีมีสิทธินำภริยามาหักลดหย่อนคู่สมรสในการยื่นแบบได้ใช่หรือไม่

คำตอบคือ ได้ โดยหักลดหย่อนรวมกันได้ 120,000 บาท

หากสนใจจ้างทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนจัดตั้ง หรือบริการอื่นๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อเราได้ที่ : บริษัท เอชเคบี ออดิท จำกัด

สรุปรายการลดหย่อนภาษี ปี 2565 สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท เป็นค่าลดหย่อนสำหรับคนมีเงินได้ทุกคนที่ยื่นภาษี
  2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท เป็นค่าลดหย่อนของคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้และเลือกยื่นแบบแสดงรายการรวมกันในการคำนวณภาษี ก็จะได้สิทธิค่าลดหย่อนเพิ่มเติมจากส่วนนี้
  3. ค่าลดหย่อนบุตร จำนวน 30,000 บาท หมายถึง บุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ในกรณีที่เป็นบุตรโดยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่ในกรณีที่เป็นบุตรบุญธรรม หรือมีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรชอบด้วยกฎหมาย จะหักได้สูงสุดไม่เกิน 3 คน (นับเฉพาะที่มีชีวิตอยู่)
  4. ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
  5. ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่เราและพ่อแม่คู่สมรส คนละ 30,000 บาท ถ้าหากเราหรือคู่สมรสมีคุณพ่อคุณแม่ที่อายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท ก็จะมีสิทธิหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูได้คนละ 30,000 บาท
  6. ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือคนทุพพลภาพ จำนวน 60,000 บาท ถ้าเราเป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือคนทุพพลภาพที่มีใบรับรองแพทย์ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่า คนพิการหรือคนทุพพลภาพที่นำมาลดหย่อนนั้น ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีด้วยค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิ
    1.ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท
    2.ค่าลดหย่อนเงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม จำนวน 100,000 บาท
    3.ค่าลดหย่อนช้อปดีมีคืน จำนวน 30,000 บาท

ค่าลดหย่อนกลุ่มประกันและการลงทุน

  1. ประกันสังคม สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 6,300 บาท
  2. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไปตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท
  3. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 25,000 บาท
  4. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 15,000 บาท
  5. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 200,000 บาท
  6. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท
  7. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  8. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกินจำนวน 13,200 บาท
  9. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) นำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกินจำนวน 200,000 บาท

ค่าลดหย่อนกลุ่มคุณรักพรรคการเมือง

โดยนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ค่าลดหย่อนกลุ่มเรื่องบริจาคตอบแทนสังคม แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. กลุ่มบริจาคแล้วลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า สำหรับกลุ่มนี้จะประกอบด้วย เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา สถานพยาบาลรัฐ สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และช่วยเหลือสังคม รวมถึงการบริจาคให้กับสภากาชาดไทย
  2. กลุ่มบริจาคลดหย่อนภาษีตามปกติ สำหรับกลุ่มเงินบริจาคทั่วไป สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินที่เหลือหลังหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อน และเงินบริจาคในกลุ่มที่เป็น 2 เท่า โดยคำว่าเงินบริจาคทั่วไป จะเป็นเงินที่เราบริจาคให้แก่วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล สถานศึกษาต่างๆ รวมถึงมูลนิธิที่เป็นองค์กรสาธารณกุศล

บางส่วนจากบทความ : “สรุปรายการลดหย่อนภาษี ปี 2565”
โดย : TAXBugnoms / Section : Lifestyle / Column : Smart Money for Salaryman
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่…วารสาร HR Society Magazine ปีที่ 20 ฉบับที่ 240 เดือนธันวาคม 2565

หากสนใจจ้างทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนจัดตั้ง หรือบริการอื่นๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อเราได้ที่ : บริษัท เอชเคบี ออดิท จำกัด

สำนักงานบัญชีคุณภาพ ควรมีลักษณะอย่างไร

นอกจาก “ราคา” ที่เป็นตัวแปรแรกในการตัดสินใจ แล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่ไม่ควรมองข้ามคือ
– ติดต่อง่าย สะดวก รวดเร็ว
– สามารถให้คำปรึกษาเรื่องบัญชี ภาษีแก่กิจการได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง
– สำนักงานบัญชีมีตัวตนอยู่จริง มีหลักแหล่งชัดเจน
– มีขอบเขตบริการบัญชีที่ตกลงให้บริการอย่างชัดเจน
– มีการส่งคืนเอกสารบัญชีและรายละเอียดประกอบงบการเงินครบถ้วนภายหลังปิดงบการเงินประจำปีเสร็จสิ้นแล้ว
– จัดทำบัญชีด้วยโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปที่รับรองโดยสรรพากร
– สามารถขอดูงบทดลอง สมุดรายวัน สมุดบัญชีแยกประเภทและรายละเอียดประกอบงบการเงิน ได้ตลอดเวลาเมื่อบริษัทต้องการ
– มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านบัญชีเป็นผู้บริหารสำนักงาน เช่น ผู้ตรวจสสอบบัญชี หรือผู้ทำบัญชีที่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีฯ ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 10 ปี

ราคาสมเหตุสมผล

สำนักงานบัญชีที่มีคุณภาพจะมาพร้อมกับราคาที่สมเหตุสมผล มีความสมดุลกันระหว่างราคากับเนื้องาน หากเนื้องานน้อย เอกสารไม่มาก แน่นอนว่าราคาย่อมถูกลง แต่ถ้าหากเอกสารมีจำนวนเยอะ ต้องทำหลายอย่าง รวมถึงความซับซ้อนของแต่ละกิจการ ราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ขึ้นอยู่กับขอบเขตบริการบัญชีที่ตกลงให้บริการกัน

ติดต่อง่าย สะดวก รวดเร็ว

เมื่อเลือกได้แล้วว่าจะติดต่อสำนักงานบัญชีแห่งไหน ในการติดต่อไปหาเพียงครั้งแรกก็สามารถตัดสินใจได้บางส่วนแล้วว่าจะเลือกสำนักงานบัญชีแห่งนี้ดีหรือไม่ ซึ่งถ้าหากติดต่อได้ง่าย โทรไปมีคนรับทันที พร้อมให้ข้อมูล สามารถให้คำปรึกษาได้อย่างรวดเร็ว ย่อมสร้างความประทับใจให้กับผู้ประกอบการตั้งแต่ครั้งแรกอย่างแน่นอน
อีกทั้งยังเป็นเครื่องการันตีได้ว่า เมื่อผู้ประกอบการเลือกสำนักงานบัญชีนี้แล้ว จะไม่เงียบหาย โดยเฉพาะสำนักงานบัญชีคุณภาพจะต้องมีการจัดสรรพนักงานเพื่อมาดูแลบัญชีของเราโดยเฉพาะ เพื่อให้การติดต่อประสานงานได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทราบรายละเอียดต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบัญชีของผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง

สำนักงานบัญชีมีตัวตนอยู่จริง มีหลักแหล่งชัดเจน

การมีตัวตนอยู่จริงและมีที่อยู่ชัดเจนของสำนักงานบัญชี ถือเป็นตัวแปรสำคัญอีกอย่างหนึ่ง สำหรับการเลือกจ้างสำนักงานบัญชี เนื่องจากในอนาคตหากเกิดอะไรขึ้น ผู้ประกอบการจะมั่นใจได้ว่า สำนักงานบัญชีที่เราเลือกจะอยู่คอยช่วยเหลือตลอด และผู้ประกอบการต้องสามารถขอดูงบทดลอง สมุดรายงาน สมุดแยกประเภท ได้ทุกเมื่อ ซึ่งจุดนี้ทางผู้ประกอบการมักจะไม่ทราบว่าทำได้และสามารถให้ทางสำนักงานบัญชีส่งให้ได้ทุกเดือน

อีกทั้งเอกสารบัญชีต่างๆ ของเราซึ่งต้องไปอยู่กับสำนักงานบัญชี หากมีที่อยู่ที่เป็นหลักแหล่งชัดเจน มีตัวตนเอยู่จริงก็ยังเบาใจได้ว่าผู้ประกอบการจะสามารถหาสำนักงานเจอ  ที่สำคัญสำนักงานบัญชีควรจัดตั้งเป็นนิติบุคคลเพราะจะมีหน่วยงานควบคุมคุณภาพงานและตรวจสอบได้

สามารถให้คำปรึกษาเรื่องบัญชี ภาษีแก่กิจการได้

หลังจากพิจารณาแล้วว่าสำนักงานบัญชีแห่งนี้ ถูกต้องตรงกับสำนักงานบัญชีคุณภาพตั้งแต่ต้น จนมาถึงจุดที่จะต้องตกลงว่าจ้าง ผู้ประกอบการควรมีการสอบถามเกี่ยวกับธุรกิจของตนเอง เพื่อพิจารณาว่าสำนักงานบัญชีนั้น มีความเข้าใจพื้นฐานในธุรกิจของเราแค่ไหน สามารถตอบคำถามและให้คำปรึกษาเราได้หรือไม่

ขอแนะนำว่าควรเลือกสำนักงานบัญชีที่มีผู้ตรวจสอบบัญชี หรือผู้ทำบัญชีที่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีฯเป็นผู้บริหารของสำนักงานบัญชี  เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านบัญชีและภาษีอากร และประสบการณ์ที่สะสมมามากกว่า10 ปีจึงทำให้มั่นใจได้ว่ามีความรู้ความเข้าใจในหลากหลายธุรกิจ  ผู้สอบบัญชีหรือผู้ทำบัญชีที่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีฯจะมีการพัฒนาความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาและจะต้องผ่านการอบรมวิชาชีพด้านบัญชีเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในข้อกฎหมายต่างๆไม่ว่าจะเป็นหลักการบัญชีหรือกฎหมายภาษีอากร ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการได้ว่างบการเงินของบริษัทได้นำเสนอภายใต้หลักการบัญชีและภาษีอากรอย่างถูกต้องแล้ว

หากสนใจจ้างทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนจัดตั้ง หรือบริการอื่นๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อเราได้ที่ : บริษัท เอชเคบี ออดิท จำกัด

แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่-๒๓)

แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)

แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)

แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-(ฉบับที่-๒๓)

การวางระบบบัญชี คืออะไร?

การวางระบบบัญชีและการออกแบบระบบการควบคุมภายในกิจการ ถือเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของกิจการเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและลดความผิดพลาดของข้อมูลในงบการเงิน

ซึ่งทำให้ผู้ใช้งบการเงินได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลาเพื่อใช้ในการตัดสินใจและวางแผนกิจการรวมถึงช่วยในการลดความเสียหายและสูญหายของทรัพย์สินของกิจการ และช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ทรัพยากรของกิจการ ลดโอกาสการเกิดทุจริตในองค์กรและทำให้เกิดการโปร่งใสในกิจการและทำให้เกิดความเชื่อมั่นสูงในกิจการ

การวางระบบบัญชีและการควบคุมภายในกิจการนั้นจะต้องมีการจัดผังองค์กรณ์ที่เหมาะสม การแบ่งแยกหน้าที่ที่เหมาะสม รวมถึงแบ่งอำนาจหน้าที่ของแต่ละตำแหน่งให้เหมาะสม ซึ่งอัตราค่าบริการนั้นขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการปฏิบัติงานการจัดการ รายได้ ค่าใช้จ่าย และกิจกรรมทางการเงินอื่นๆ ของธุรกิจ ซึ่งจะมีองค์ประกอบของระบบบัญชีอยู่ 3 อย่าง ค่าใช้จ่าย (Expenses) ใบแจ้งหนี้ (Invoices) และเงินทุน (Funding)

การวางระบบบัญชีของธุรกิจแต่ละประเภท

ธุรกิจขนส่ง

ธุรกิจขนส่งเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยและเป็นที่รู้จักทั่วไปมาสักระยะใหญ่ๆแล้ว ซึ่งเป็นที่ยอมรับและได้รับบริการจากบุคคลทั่วไปโดยเป็นที่นิยมกันจำนวนมาก กระแสธุรกิจขนส่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเมื่อไม่กี่ปีมานี้ เพราะไม่เพียงช่วยขับเคลื่อนการทำธุรกิจอุตสาหกรรมรายใหญ่ แต่ยังช่วยขนส่งสินค้าและบริการของผู้ประกอบการรายย่อยอีกด้วย บริษัทขนส่งจึงเริ่มมีมากขึ้นในประเทศไทย

ก่อนจะรู้เรื่องการวางบัญชีของธุรกิจขนส่งนั้น คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าธุรกิจขนส่งนั้นแบ่งออกเป็นกี่ประเภทและจะวางระบบบัญชีนั้นได้อย่างไร ธุรกิจขนส่งนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจขนส่งแบบรถสู่รถกับธุรกิจขนส่งแบบมีโกดัง

  1. การวางระบบบัญชีของธุรกิจขนส่งแบบรถสู่รถ หากเป็นขนส่งแบบรถสู่รถส่งให้ลูกค้า จะไม่มีการพักสินค้า ธุรกิจขนส่งแบบนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  2. การวางระบบบัญชีของธุรกิจขนส่งแบบมีโกดังนั้นแตกต่างออกไปอย่างมากกับธุรกิจขนส่งแบบรถสู่รถ เพราะธุรกิจนี้การวางของหรือเก็บของไว้ที่โกดังก่อนส่งให้ลูกค้า จะถือว่าเป็นธุรกิจบริการ เพราะมีการฝากของ และเสียค่าเช่าโกดัง ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทันที ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ธุรกิจซื้อมาขายไป

ธุรกิจซื้อมาขายไปนั้นเป็นส่วนธุรกิจที่เจ้าของธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในส่วนของการผลิตสินค้าด้วยตัวเองเลย นั่นก็เพราะว่าเจ้าของธุรกิจสามารถซื้อสินค้าโดยตรงจาก “ผู้ผลิตสินค้า” หรือ “พ่อค้าคนกลาง” เพื่อรับสินค้าแล้วนำมาขายต่อโดยการเพิ่มราคาเพื่อกินกำไรนั่นเอง

การวางระบบบัญชีของธุรกิจประเภทนี้รายได้ของผู้ประกอบการจะต้องนำมาใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ต้องนำส่งทั้งครึ่งปีและเต็มปี หากเก็บบิลค่าใช้จ่ายอย่างถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่เริ่มต้น ก็จะช่วยให้วางแผนประหยัดภาษีได้

ธุรกิจขายของออนไลน์

ธุรกิจขายของออนไลน์นั้นในปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากในประเทศไทย การขายของออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) เป็นการดำเนินการซื้อขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ลดต้นทุนและกระบวนการดำเนินงานให้น้อยลง แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพการขายสินค้าได้อย่างทั่วถึง สามารถซื้อขายได้ทุกที่ ทุกเวลาอีกด้วย

ปัจจุบันธนาคารมีการส่งข้อมูลธุรกรรมของผู้เปิดบัญชีธนาคารให้กับกรมสรรพากร จึงเป็นเรื่องยากที่ผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์จะหลีกเลี่ยง ผู้ประกอบการที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงต้องวางระบบการเปิดใบเสร็จ หรือออกใบกำกับภาษีให้ถูกต้อง

ธุรกิจขายส่ง

ธุรกิจการขายส่ง คือ การที่โรงงานผู้ผลิต ผู้ประกอบการรายใหญ่ ได้จำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการ พ่อค้า แม่ค้า เป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้ราคาที่ต่ำมากพอ ที่จะนำไปขายต่อให้ผู้บริโภคแล้วยังได้กำไรอยู่ โดยอาจมีการจำหน่ายต่อ ๆ กันอีกหลายทอด แล้วแต่ชนิดของสินค้า

ธุรกิจขายส่งต้องมีการวางแผนระบบเงินสดด้วยเพราะในการขายสินค้าแต่ละครั้งจะมีมูลค่าสูง และไม่สามารถเก็บเงินได้ทันที ดังนั้นควรมีการวางแผนกระแสเงินสดของธุรกิจให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเงินสดขาดมือในภายหลัง

หากสนใจจ้างทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนจัดตั้ง หรือบริการอื่นๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อเราได้ที่ : บริษัท เอชเคบี ออดิท จำกัด

การยื่นรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยการยื่นรายการประเมินตนเองมีกี่วิธี อะไรบ้าง

วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยการยื่นรายการประเมินตนเองมี 3 วิธีดังนี้

1.การยื่นรายการล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามแบบ ภ.ง.ด.93 ซึ่งแบ่งเป็น

(1) กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินได้พึงประเมินประเภทที่ไม่ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ที่มีจำนวนตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป (มาตรา 52 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)

(2) กรณีได้รับเงินได้ที่เป็นเงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้าง ค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ผู้ให้เช่าได้รับกรรมสิทธิ์จากผู้เช่าเมื่อสร้างเสร็จ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์ไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2528 และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 1/2526

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้ชำระตามวิธีการดังกล่าว ให้ถือเป็นเครดิตในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี

2.การยื่นรายการเงินได้ครึ่งปีสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (5)(6)(7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน แต่ไม่รวมถึงเงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้าง รวมทั้งค่าอาคารหรือโรงเรือนที่ผู้ให้เช่าได้รับกรรมสิทธิ์จากผู้ให้เช่าเมื่อสร้างเสร็จ ทั้งนี้ โดยให้ยื่น แบบ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายนของปีภาษี (มาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร) ภาษีเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ได้ชำระตามแบบ ภ.ง.ด.93 ให้ถือเป็นเครดิตในการยื่นรายการเงินได้ประจำปีต่อไป

3.การยื่นรายการเงินได้ประจำปีสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตลอดปีภาษีตาม แบบแสดงรายการต่อไปนี้ ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป (มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 57 ทวิ มาตรา 57 ฉ และมาตรา 62 แห่งประมวลรัษฎากร)

แบบ ภ.ง.ด.90 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินทุกประเภท หรือมีเงินได้ประเภทอื่นใดที่มิใช่เงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

แบบ ภ.ง.ด.91 กรณีผู้มีเงินได้ยื่นรายการด้วยตนเอง หรือ แบบ ภ.ง.ด.92 กรณีนายจ้างรับมอบอำนาจจากลูกจ้างให้ยื่นแบบแสดงรายการเงินได้แทนด้วยสื่อดิสก์เก็ต ทั้งนี้ สำหรับท่านผู้มีเงินได้พึงประเมินจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

แบบ ภ.ง.ด.95 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ที่เป็นชาวต่างประเทศที่ทำงานกับสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (ROH) และประสงค์จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับภายใน 4 ปีนับแต่วันที่ทำงานกับสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคนั้นๆ

ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังนี้

1.การยื่นรายการด้วยตนเอง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
2.การยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ไม่เว้นวันหยุดราชการ และให้ยื่นแบบได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ไม่เว้นวัดหยุดราชการ
3.การยื่นแบบแสดงรายการทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ

Ref : https://www.bangkokbiznews.com/news/571184

หากสนใจจ้างทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนจัดตั้ง หรือบริการอื่นๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อเรา : บริษัท เอชเคบี ออดิท จำกัด

งบการเงินประจำปี คืออะไร

งบการเงินประจำปี คือ

งบการเงิน เป็นรายงานทางการเงินที่นำเสนอข้อมูลเพื่อแสดงฐานะทางการเงินผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการโดยถูก
ต้องตามที่ควรในแต่ละงวดบัญชีใดบัญชีหนึ่งหรือระหว่างงวดบัญชีก็ได้ งบการเงินจะแสดงข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรก็ต่อเมื่อกิจการได้ปฎิบัติตามมาตรฐานการ
บัญชีอย่างเหมาะสม รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น งบการเงินดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ และสามารถแสดง
ถึงผลการบริหารงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้ดูแลทรัพยากรของกิจการ งบการเงินต้องจัดทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และต้องนำเสนอข้อมูลดังต่อไป
นี้คือ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ ค่าใช้จ่าย และกระแสเงินสด
ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ควรประกอบด้วย

บริษัท เอชเคบี ออดิท จำกัด บริการทำบัญชี ตรวจสอบบัญชีและให้คำปรึกษาด้านภาษี
บริษัท เอชเคบี ออดิท จำกัด บริการทำบัญชี ตรวจสอบบัญชีและให้คำปรึกษาด้านภาษี

1. งบดุล [ Balance Sheet ] เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง

2. งบกำไรขาดทุน [ Income Statement ] เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงผลการดำเนินงานของกิจการในระหว่างงวดบัญชี หรือสิ้นงวดบัญชีใดบัญชี
3. งบแสดงการเปลี่ยนในส่วนของเจ้าของ [ Statement of Changes in owner Equity ] หมายถึง รายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงใน
ส่วนของเจ้าของ
4. งบกระแสเงินสด [ Cash flow Statement ] เป็นรายงานที่แสดงถึงการได้มาและใช้ไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน [ Note to financial Statement ] ประกอบด้วย คำอธิบาย และการวิเคราะห์รายละเอียดของจำนวนเงินที่แสดงในงบดุล
งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ โดยแสดงในรูปของงบย่อย หรืองบประกอบต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลที่มาตรฐาน

การบัญชีกำหนดให้เปิดเผย และการเปิดเผยข้อมูลอื่นที่จะทำให้งบการเงินแสดงโดยถูกต้องตามที่ควร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจได้ถูกต้อง

โครงสร้างหมายเหตุประกอบงบการเงิน ดังนี้

5.1 หมายเหตุประกอบงบการเงินของกิจการ ต้อง

– แสดงข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน และนโยบายการบัญชีที่เลือกใช้กับรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่สำคัญ

– เปิดเผยข้อมูลตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด

– ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงินแต่เป็นข้อมูลที่จำเป็น เพื่อให้งบการเงินนั้นแสดงโดยถูกต้องตามที่ควร

5.2 หมายเหตุประกอบงบการเงินต้องแสดงอย่างเป็นระบบ รายการแต่ละรายการในงบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสดต้องอ้างอิงข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องในหมายเหตุประกอบงบการเงินได้
การนำเสนองบการเงิน มี 2 ประเภท

1. งบการเงินประจำปี เป็นงบการเงินที่จัดทำขึ้น ณ วันสิ้นงวดบัญชี เพื่อแสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดในรอบปีบัญชีนั้นๆ ของกิจการ

2. งบการเงินระหว่างกาล เป็นงบการเงินที่จัดทำขึ้นระหว่างงวดบัญชีเพื่อแสดงฐานะทางเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร
และผู้ใช้งบการเงินได้ทราบข้อมูลทางการเงินก่อนสิ้นงวดบัญชี เช่น งบการเงินรายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งปี เป็นต้น

การจัดทำงบการเงินเมื่อกิจการได้มีการปรับปรุงและแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชีต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วรูปแบบของงบการเงินมี 2 แบบคือ แบบบัญชีและแบบ
รายงานซึ่งถือว่าแบบรายงานเป็นที่นิยมใช้ในเชิงปฏิบัติมากที่สุดในปัจจุบัน

งบกำไรขาดทุน

โดยทั่วไปงบการเงินที่สำคัญประกอบด้วย งบกำไรขาดทุน และงบดุล งบกำไรขาดทุน แสดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีกำไรหรือขาดทุนสุทธิเท่าใด
ในระหว่างงวด บัญชีที่แสดงในงบกำไรขาดทุน ได้แก่ บัญชีประเภทรายได้ และบัญชีประเภทค่าใช้จ่าย เนื่องจากงวดบัญชีโดยปกติมักกำหนดระยะเวลา 1 ปี จึงมัก

เข้าใจผิดว่ากิจการจะต้องจัดทำงบการเงินเพียงปีละครั้งเสมอ ซึ่งที่จริงแล้วกิจการสามารถจัดทำงบการเงินได้ทุกเมื่อ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของกิจการ เช่น

จัดทำทุกเดือน ทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน ก็ได้ การที่กิจการจัดทำงบการเงินในวันอื่นที่มิใช่วันสิ้นงวดบัญชีนี้ เราเรียกว่า งบการเงินระหว่างการ หรืองบการเงิน

ระหว่างงวด (Interim Report) ซึ่งการจัดทำงบการเงินระหว่างกาลกับงบการเงินระหว่างงวดนี้มีหลักการและวิธีการจัดทำเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

เช่นเดียวกันวิธีการจัดทำงบกำไรขาดทุน

วิธีการจัดทำงบกำไรขาดทุน

กิจการสามารถจัดทำงบกำไรขาดทุนได้ 2 แบบ คือ แบบรายงาน และแบบบัญชี โดยมีวิธีการจัดทำ ดังนี้

1. การจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน มีวิธีการจัดทำเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 บรรทัดแรก – เขียนชื่อกิจการตรงกลางหน้ากระดาษ

บรรทัดที่ 2 – เขียนคำว่า “งบกำไรขาดทุน”

บรรทัดที่ 3 – เขียนช่วงระยะเวลาของรอบบัญชีและวันที่สิ้นงวด

ขั้นที่ 2 ในงบกำไรขาดทุนเขียนรายการบัญชีประเภทรายได้ก่อน แล้วตามด้วยรายการประเภทค่าใช้จ่าย

ขั้นที่ 3 คำนวณหาผลต่างระหว่างรายได้ และค่าใช้จ่าย

– ถ้ารายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย เกิดผล “กำไรสุทธิ” เขียนคำว่า “กำไรสุทธิ” ในบรรทัดสุดท้ายของงบ

– ถ้าค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ เกิดผล “ขาดทุนสุทธิ” เขียนคำว่า “ขาดทุนสุทธิ” ในบรรทัดสุดท้ายของงบ

หากสนใจจ้างทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนจัดตั้ง หรือบริการอื่นๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อเรา : บริษัท เอชเคบี ออดิท จำกัด รับทำบัญชี

บริการรับทำบัญชี สอบบัญชี ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับภาษีอากร และบริการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท/ห้างหุ้นส่วน

  • บริการตรวจสอบงบการเงินประจำปี

    บริการตรวจสอบบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด รับทำบัญชีโดยทีมงานที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ทางด้านการตรวจสอบบัญชี ซึ่งการตรวจสอบงบการเงินนั้น
  • บริการสอบทานงบการเงิน

    การสอบทานงบการเงิน เป็นบริการที่ให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้งบการเงินในอีกรูปแบบหนึ่งโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งเป็นบุคคลอิสระที่ไม่มีส่วนได้เสียแก่กิจการ
  • บริการตรวจสอบภายในกิจการ

    บริการที่ให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระ เกี่ยวกับการควบคุมภายในในกระบวนการปฏิบัติงาน การรายงานทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน และการปฏิบัติตามกฎหมาย
  • บริการวางระบบบัญชีและการควบคุมภายในกิจการ

    การวางระบบัญชีและการออกแบบระบบการควบคุมภายในกิจการ ถือเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของกิจการเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและลดความผิดพลาดของข้อมูลในงบการเงิน
  • บริการรับจดทะเบียนบริษัทและห้างหุ้นส่วน

    ความน่าเชื่อถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการหลาย ๆ รายจึงต้องการจดทะเบียนบริษัทเพื่อรองรับการเติบโตและการขยายตัวของธุรกิจ
line hkbaudit ติดต่อเรา