ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์

การยื่นรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยการยื่นรายการประเมินตนเองมีกี่วิธี อะไรบ้าง

วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยการยื่นรายการประเมินตนเองมี 3 วิธีดังนี้

1.การยื่นรายการล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามแบบ ภ.ง.ด.93 ซึ่งแบ่งเป็น

(1) กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินได้พึงประเมินประเภทที่ไม่ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ที่มีจำนวนตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป (มาตรา 52 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)

(2) กรณีได้รับเงินได้ที่เป็นเงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้าง ค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ผู้ให้เช่าได้รับกรรมสิทธิ์จากผู้เช่าเมื่อสร้างเสร็จ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์ไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2528 และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 1/2526

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้ชำระตามวิธีการดังกล่าว ให้ถือเป็นเครดิตในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี

2.การยื่นรายการเงินได้ครึ่งปีสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (5)(6)(7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน แต่ไม่รวมถึงเงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้าง รวมทั้งค่าอาคารหรือโรงเรือนที่ผู้ให้เช่าได้รับกรรมสิทธิ์จากผู้ให้เช่าเมื่อสร้างเสร็จ ทั้งนี้ โดยให้ยื่น แบบ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายนของปีภาษี (มาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร) ภาษีเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ได้ชำระตามแบบ ภ.ง.ด.93 ให้ถือเป็นเครดิตในการยื่นรายการเงินได้ประจำปีต่อไป

3.การยื่นรายการเงินได้ประจำปีสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตลอดปีภาษีตาม แบบแสดงรายการต่อไปนี้ ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป (มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 57 ทวิ มาตรา 57 ฉ และมาตรา 62 แห่งประมวลรัษฎากร)

แบบ ภ.ง.ด.90 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินทุกประเภท หรือมีเงินได้ประเภทอื่นใดที่มิใช่เงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

แบบ ภ.ง.ด.91 กรณีผู้มีเงินได้ยื่นรายการด้วยตนเอง หรือ แบบ ภ.ง.ด.92 กรณีนายจ้างรับมอบอำนาจจากลูกจ้างให้ยื่นแบบแสดงรายการเงินได้แทนด้วยสื่อดิสก์เก็ต ทั้งนี้ สำหรับท่านผู้มีเงินได้พึงประเมินจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

แบบ ภ.ง.ด.95 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ที่เป็นชาวต่างประเทศที่ทำงานกับสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (ROH) และประสงค์จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับภายใน 4 ปีนับแต่วันที่ทำงานกับสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคนั้นๆ

ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังนี้

1.การยื่นรายการด้วยตนเอง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
2.การยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ไม่เว้นวันหยุดราชการ และให้ยื่นแบบได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ไม่เว้นวัดหยุดราชการ
3.การยื่นแบบแสดงรายการทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ

Ref : https://www.bangkokbiznews.com/news/571184

หากสนใจจ้างทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนจัดตั้ง หรือบริการอื่นๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อเรา : บริษัท เอชเคบี ออดิท จำกัด

งบการเงินประจำปี คืออะไร

งบการเงินประจำปี คือ

งบการเงิน เป็นรายงานทางการเงินที่นำเสนอข้อมูลเพื่อแสดงฐานะทางการเงินผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการโดยถูก
ต้องตามที่ควรในแต่ละงวดบัญชีใดบัญชีหนึ่งหรือระหว่างงวดบัญชีก็ได้ งบการเงินจะแสดงข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรก็ต่อเมื่อกิจการได้ปฎิบัติตามมาตรฐานการ
บัญชีอย่างเหมาะสม รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น งบการเงินดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ และสามารถแสดง
ถึงผลการบริหารงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้ดูแลทรัพยากรของกิจการ งบการเงินต้องจัดทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และต้องนำเสนอข้อมูลดังต่อไป
นี้คือ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ ค่าใช้จ่าย และกระแสเงินสด
ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ควรประกอบด้วย

บริษัท เอชเคบี ออดิท จำกัด บริการทำบัญชี ตรวจสอบบัญชีและให้คำปรึกษาด้านภาษี
บริษัท เอชเคบี ออดิท จำกัด บริการทำบัญชี ตรวจสอบบัญชีและให้คำปรึกษาด้านภาษี

1. งบดุล [ Balance Sheet ] เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง

2. งบกำไรขาดทุน [ Income Statement ] เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงผลการดำเนินงานของกิจการในระหว่างงวดบัญชี หรือสิ้นงวดบัญชีใดบัญชี
3. งบแสดงการเปลี่ยนในส่วนของเจ้าของ [ Statement of Changes in owner Equity ] หมายถึง รายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงใน
ส่วนของเจ้าของ
4. งบกระแสเงินสด [ Cash flow Statement ] เป็นรายงานที่แสดงถึงการได้มาและใช้ไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน [ Note to financial Statement ] ประกอบด้วย คำอธิบาย และการวิเคราะห์รายละเอียดของจำนวนเงินที่แสดงในงบดุล
งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ โดยแสดงในรูปของงบย่อย หรืองบประกอบต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลที่มาตรฐาน

การบัญชีกำหนดให้เปิดเผย และการเปิดเผยข้อมูลอื่นที่จะทำให้งบการเงินแสดงโดยถูกต้องตามที่ควร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจได้ถูกต้อง

โครงสร้างหมายเหตุประกอบงบการเงิน ดังนี้

5.1 หมายเหตุประกอบงบการเงินของกิจการ ต้อง

– แสดงข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน และนโยบายการบัญชีที่เลือกใช้กับรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่สำคัญ

– เปิดเผยข้อมูลตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด

– ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงินแต่เป็นข้อมูลที่จำเป็น เพื่อให้งบการเงินนั้นแสดงโดยถูกต้องตามที่ควร

5.2 หมายเหตุประกอบงบการเงินต้องแสดงอย่างเป็นระบบ รายการแต่ละรายการในงบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสดต้องอ้างอิงข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องในหมายเหตุประกอบงบการเงินได้
การนำเสนองบการเงิน มี 2 ประเภท

1. งบการเงินประจำปี เป็นงบการเงินที่จัดทำขึ้น ณ วันสิ้นงวดบัญชี เพื่อแสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดในรอบปีบัญชีนั้นๆ ของกิจการ

2. งบการเงินระหว่างกาล เป็นงบการเงินที่จัดทำขึ้นระหว่างงวดบัญชีเพื่อแสดงฐานะทางเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร
และผู้ใช้งบการเงินได้ทราบข้อมูลทางการเงินก่อนสิ้นงวดบัญชี เช่น งบการเงินรายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งปี เป็นต้น

การจัดทำงบการเงินเมื่อกิจการได้มีการปรับปรุงและแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชีต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วรูปแบบของงบการเงินมี 2 แบบคือ แบบบัญชีและแบบ
รายงานซึ่งถือว่าแบบรายงานเป็นที่นิยมใช้ในเชิงปฏิบัติมากที่สุดในปัจจุบัน

งบกำไรขาดทุน

โดยทั่วไปงบการเงินที่สำคัญประกอบด้วย งบกำไรขาดทุน และงบดุล งบกำไรขาดทุน แสดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีกำไรหรือขาดทุนสุทธิเท่าใด
ในระหว่างงวด บัญชีที่แสดงในงบกำไรขาดทุน ได้แก่ บัญชีประเภทรายได้ และบัญชีประเภทค่าใช้จ่าย เนื่องจากงวดบัญชีโดยปกติมักกำหนดระยะเวลา 1 ปี จึงมัก

เข้าใจผิดว่ากิจการจะต้องจัดทำงบการเงินเพียงปีละครั้งเสมอ ซึ่งที่จริงแล้วกิจการสามารถจัดทำงบการเงินได้ทุกเมื่อ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของกิจการ เช่น

จัดทำทุกเดือน ทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน ก็ได้ การที่กิจการจัดทำงบการเงินในวันอื่นที่มิใช่วันสิ้นงวดบัญชีนี้ เราเรียกว่า งบการเงินระหว่างการ หรืองบการเงิน

ระหว่างงวด (Interim Report) ซึ่งการจัดทำงบการเงินระหว่างกาลกับงบการเงินระหว่างงวดนี้มีหลักการและวิธีการจัดทำเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

เช่นเดียวกันวิธีการจัดทำงบกำไรขาดทุน

วิธีการจัดทำงบกำไรขาดทุน

กิจการสามารถจัดทำงบกำไรขาดทุนได้ 2 แบบ คือ แบบรายงาน และแบบบัญชี โดยมีวิธีการจัดทำ ดังนี้

1. การจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน มีวิธีการจัดทำเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 บรรทัดแรก – เขียนชื่อกิจการตรงกลางหน้ากระดาษ

บรรทัดที่ 2 – เขียนคำว่า “งบกำไรขาดทุน”

บรรทัดที่ 3 – เขียนช่วงระยะเวลาของรอบบัญชีและวันที่สิ้นงวด

ขั้นที่ 2 ในงบกำไรขาดทุนเขียนรายการบัญชีประเภทรายได้ก่อน แล้วตามด้วยรายการประเภทค่าใช้จ่าย

ขั้นที่ 3 คำนวณหาผลต่างระหว่างรายได้ และค่าใช้จ่าย

– ถ้ารายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย เกิดผล “กำไรสุทธิ” เขียนคำว่า “กำไรสุทธิ” ในบรรทัดสุดท้ายของงบ

– ถ้าค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ เกิดผล “ขาดทุนสุทธิ” เขียนคำว่า “ขาดทุนสุทธิ” ในบรรทัดสุดท้ายของงบ

หากสนใจจ้างทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนจัดตั้ง หรือบริการอื่นๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อเรา : บริษัท เอชเคบี ออดิท จำกัด รับทำบัญชี

บริการรับทำบัญชี สอบบัญชี ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับภาษีอากร และบริการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท/ห้างหุ้นส่วน

  • บริการตรวจสอบงบการเงินประจำปี

    บริการตรวจสอบบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด รับทำบัญชีโดยทีมงานที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ทางด้านการตรวจสอบบัญชี ซึ่งการตรวจสอบงบการเงินนั้น
  • บริการสอบทานงบการเงิน

    การสอบทานงบการเงิน เป็นบริการที่ให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้งบการเงินในอีกรูปแบบหนึ่งโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งเป็นบุคคลอิสระที่ไม่มีส่วนได้เสียแก่กิจการ
  • บริการตรวจสอบภายในกิจการ

    บริการที่ให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระ เกี่ยวกับการควบคุมภายในในกระบวนการปฏิบัติงาน การรายงานทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน และการปฏิบัติตามกฎหมาย
  • บริการวางระบบบัญชีและการควบคุมภายในกิจการ

    การวางระบบัญชีและการออกแบบระบบการควบคุมภายในกิจการ ถือเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของกิจการเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและลดความผิดพลาดของข้อมูลในงบการเงิน
  • บริการรับจดทะเบียนบริษัทและห้างหุ้นส่วน

    ความน่าเชื่อถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการหลาย ๆ รายจึงต้องการจดทะเบียนบริษัทเพื่อรองรับการเติบโตและการขยายตัวของธุรกิจ
line hkbaudit ติดต่อเรา